การควบคุมทางด้านจิตใจได้กลายเป็นธุรกิจไปแล้ว
รายงานจากวารสาร Trend Letter ฉบับเดือนกันยายน 2545 กล่าวว่าการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับระบบประสาทของมนุษย์ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการค้าหาสาเหตุของความบกพร่องที่เกิดขึ้นในมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านระบบประสาทได้สร้างระบบฐานข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบความบกพร่องทางมันสมอง และได้ทำการทดลองเพื่อที่จะได้เลียนแบบการทำงานของระบบประสาทของมนุษย์ขึ้น นักวิทยาศาสตร์คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะสามารถตรวจสอบมันสมองของมนุษย์แล้วประเมินว่าบุคคลผู้นั้นมีสุขภาพทางจิตใจอย่างไร และจะสามารถแก้ไขบุคลิกภาพที่บกพร่องได้อย่างไร โดยเชื่อว่าการเยียวยารักษาโรคนั้นจะสามารถทำได้ในผู้ป่วยโรค Parkinson รวมทั้งจะสามารถใช้ตรวจสอบและเยียวยารักษาเด็กอ่อนที่มีการพัฒนาช้าให้กลับกลายมาเป็นปกติเหมือนเด็กธรรมดาทั่วๆไปได้ รวมถึงการใช้เครื่องจับเท็จยังจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางตำรวจในการจับผู้กระทำผิดมาลงโทษ อีกทั้งบุคคลที่มีนิสัยที่ก้าวร้าว นิสัยที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง นิสัยที่มีจิตกังวล และความบกพร่องในรูปแบบอื่นจะสามารถดักจับและกำจัดได้
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการกระตุ้นให้เกิดพรสวรรค์ขึ้น อาทิเช่น การทำให้กลายเป็นจิตรกรที่โด่งดังของโลกดังเช่น Picasso หรือ Rambrant รวมทั้งการกระตุ้นให้มีเหตุมีผลในระบบความคิดมากขึ้นโดยสิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้กลายเป็นจริงได้ แต่ก็ยังมีข้อคัดค้านว่าการทำให้กลายเป็นคนที่สมบูรณ์แบบจนเกินไปนั้นจะลบภาพพจน์ที่ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมที่จะมีข้อผิดพลาดในตนเอง รวมถึงข้อบกพร่องต่างๆนั้นเองที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การควบคุมทางด้านจิตใจได้กลายเป็นธุรกิจไปแล้วในขณะนี้และคาดว่าในอนาคตอันใกล้บริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่จะสามารถผลิตยาแก้โรคเขินอาย ยาแก้โรคขี้ลืม ยาแก้ความง่วง และยาแก้เครียดได้ ตลาดด้าน Neurotechnology ปัจจุบันมีมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี และคาดว่าจะสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2548
(ที่มา: Trend Letter, September 16, 2002)
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น