วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบนำส่งยารักษามะเร็ง

การพัฒนาระบบนำส่งยารักษาโรคมะเร็ง
Wednesday, 13 May 2009 14:56
รศ ดร สมลักษณ์ คงเมือง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร

การพัฒนาระบบยาในปัจจุบันมีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย และมีการพัฒนาการที่รวดเร็ว โดยมากจะเน้นกับตัวยาที่มีการรักษาโรคที่สำคัญ เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น พบว่าสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ คศ 2008 มีมะเร็งที่พบบ่อย 4 ชนิดได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำใส้ และ มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่ง มีการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยอีก 50 % ของจำนวนคนไข้เดิม
ในการรักษาโรคมะเร็ง กระบวนการการคิดค้นยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประโยชน์ในการรักษาให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยลดอาการข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาที่พบมากสำหรับกลุ่มยารักษาโรคมะเร็งคือเรื่องของ low therapeutic index ของตัวยา ซึ่งจะมีผลต่อความเป็นพิษของยานั้นๆ จึงมีนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหานี้ โดยสามารถทำได้ใน สอง ลักษณะได้แก่

1. สังเคราะห์ยาให้มีความจำเพาะกับเซลล์มะเร็ง ยาบางชนิดสามารถสังเคราะห์ได้เช่น imatinib mesylate , gefitnib, trastuzumab และ cetuximab โดยยาในกลุ่มนี้จะเป็นยาประเภท monoclonal antibody มีความสามารถจับเฉพาะกับเซลที่ต้องการรักษาได้ โดย จะไม่มีผลกระทบ หรือ ผลน้อยต่อเซลปกติของร่างกาย ทำให้เป็นที่ต้องการของการรักษาเป็นอย่างมาก จึงมีการศึกษาด้านนี้เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะมียาในกลุ่มนี้ออกจำหน่ายในอนาคตอันใกล้

2. การนำยารักษามะเร็งที่มีอยู่แล้ว มาบรรจุในระบบนำส่งยาที่เหมาะสม เพื่อจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ดี และป้องกันความเป็นพิษของยาต่อเนื้อเยื่อปกติ การศึกษาในประเภทนี้มีการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเน้นเรื่องของการเตรียมระบบนำส่ง หรือ ตัวพา(carrier) เพื่อนำยาไปยังบริเวณต่างๆที่ต้องการออกฤทธิ์ ทั้งนี้สามารถแบ่งการศึกษาเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 การนำส่งยาแบบ passive targeting ได้แก่การนำส่งยา โดย อาศัยตัวพา(carrier) พาตัวยาสำคัญไปยังบริวณต้องการ ซึ่งเป็นไปตามลักษณะขนิดมะเร็งที่เกิดขึ้น โดยจะอาศัยปัจจัยของการเกิดมะเร็งมาเกี่ยวข้องได้แก่ กระบวนการ angiogenesis คือมีการขยายและเพิ่มจำนวนของเส้นเลือดบริเวณเซลมะเร็ง ทำให้เซลมะเร็งได้รับสารอาหารมากขึ้น จากปริมาณของเลือดที่เข้ามาหล่อเลี้ยงมากขึ้น ในกระบวนการนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณ ของ growth factor หลายชนิด ส่งผลให้หลอดเลือดมีอาการอักเสบ และ บวม มากกว่าปกติ ในบริเวณที่เป็นมะเร็ง ซึ่งการอักเสบ บวมก่อให้เกิดหลอดเลือดบริเวณนั้น เกิดการขยายตัว ทำให้ผนังของเส้นเลือดบริเวณดังกล่าว บางลง และบางแห่งอาจจะมีรอยรั่วเกิดขึ้น ส่งผลทำให้ ตัวยาที่บรรจุในตัวพา สามารถหลุดเข้าสู่บริเวณเซลที่เป็นมะเร็ง แล้วสามารถนำยาให้ออกฤทธิ์ได้ ตัวพาในกรณีนี้มักจะมีประโยชน์ในแง่ของ การเพิ่มการละลายของตัวยาสำคัญหรือ สามารถทำให้ตัวยาสำคัญสามารถอยู่ในระบบหลอดเลือดนานมากขึ้น
2.2 การนำส่งยาแบบ active targeting ได้แก่ ใช้ตัวพาที่มีความสามารถพิเศษในการนำส่งยาไปเฉพาะที่ได้ หรือบริเวณเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ใช้ได้แก่ การใช้nanotechonology มาประยุกต์ รวมถึงการใช้สารในกลุ่ม polymer ที่ลักษณะพิเศษ นอกจากนี้แล้วจะมีการนำส่งบางส่วนของสารพันธุกรรม เพื่อช่วยในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของเซลมะเร็ง อาจจะอยู่ในลักษณะของ SiRNA หรือ Antisense oligodeoxynucleotide เป็นต้น

>ติดตามรายละอียดต่อที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น