ปัจจุบัน มีการนำพลาสติกย่อยสลายได้มาใช้งานทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องจากประโยชน์หลาย ๆ ประการ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของไหมเย็บแผลหรือแผ่นดามกระดูกต่าง ๆ เครื่องมือแพทย์ที่สามารถย่อยสลายตัวเองได้ ภายหลังจาก การทำหน้าที่ ตามที่ได้รับการออกแบบเสร็จสิ้นแล้วนั้น จะทำให้แพทย์ไม่ต้องผ่าตัด เป็นครั้งที่สอง เพื่อนำเครื่องมือแพทย์ ที่ใช้งานในการรักษาแล้ว ออกจากร่างกายผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ป่วยและแพทย์ คือ ผู้ป่วยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ไม่ต้องเจ็บตัวจากการผ่าตัดเพิ่มขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงกับการผ่าตัดเพิ่มเติมและไม่ต้องเสียเวลา ในขณะเดียวกันแพทย์ ไม่ต้องเสียเวลา ในการรักษาผู้ป่วยคนอื่นเพื่อทำการผ่าตัดนำเครื่องมือแพทย์ออก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการนำไปใช้งาน ผลิตเป็น อุปกรณ์ปลดปล่อยยา (drug delivery system) และวัสดุโครงร่างรองรับเซลล์สำหรับงานทางวิศวกรรมเนื้อเยื่ออีกด้วย
โดยทั่วไป พลาสติกที่ได้รับการพัฒนา และนำไปผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้านั้น มักอยู่ในกลุ่มของโพลิเอสเทอร์ ทั้งประเภท โฮโมโพลิเมอร์ และโคโพลิเมอร์ของแลกไทด์ และไกลโคไลด์ โพลิคาโปรแลกโตน (poly-e-caprolactone) โพลิไดออกซาโนน (polydioxanone) โพลิอะมิโนแอซิด (polyamino acid) โพลิแอนไฮไดร์ด (polyanhydrides) และโพลิออร์โทเอสเทอร์ (polyorthoesters) ถึงแม้จะมีการใช้งานเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีพลาสติกย่อยสลายทางการแพทย์ ที่มีสมบัติคล้ายยาง ที่สามารถ ดึงยืดออกได้ยาว และคืนตัวกลับมาได้เมื่อปล่อยแรงออก ซึ่งเป็นสมบัติของเนื้อเยื่อหลายประเภทในร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ถุงลมในปอดซึ่งสามารถขยายตัวได้กว่า 7 เท่าเมื่อเราหายใจเข้า และสามารถคืนรูปร่างกลับมาได้เมื่อเราหายใจออก เป็นต้น
อ่านบทความนี้ต่อที่ >>
1>>http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/174/biomaterial/3.htm
2>>http://web.mit.edu/newsoffice/2002/biorubber.html
วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น