แขนเทียม
แนวความคิดที่จะจับเอาบางส่วนของหุ่นยนต์มาใส่ให้แก่คนที่มีสมรรถนะร่างกายต่ำกว่าคนปกติ เช่น แขนเทียม ขาเทียม ไปจนถึงมือเทียม ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากทั้งผู้วิจัยและพัฒนา และผู้ใช้ทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2006 โลกได้กำเนิดมนุษย์กึ่งหุ่นยนต์ทั้งเพศชายและเพศหญิงเป็นครั้งแรก ทั้งคู่ได้สูญเสียแขนจากอุบัติเหตุ คลาวเดีย มิทเชล (Claudia Mitchell) เล่าว่าในช่วงแรกที่เธอกลับมาใช้ชีวิตที่มีแขนข้างเดียว เวลาจะรับประทานกล้วย เธอต้องเอาเท้าทั้งสองจับกล้วยแล้วใช้มือขวาที่เหลืออยู่ปอกกล้วย “การปอกกล้วยเข้าปากไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่เคยคิด” ถึงแม้ในที่สุดเธอจะยังสามารถทำภารกิจแบบนี้ได้ มันก็มักจะทำให้อารมณ์เธอแปรปรวนทุกครั้ง แต่ตอนนี้เธอเพียงแต่เอาแขนกลมาอยู่ใกล้ๆ กล้วยแล้วพยายามคิดที่จะจับกล้วย แขนกลนั้นจะตอบสนองคำสั่งจากสมองของเธอด้วยการจับกล้วยลูกนั้น ก่อนที่เธอจะใช้มือจริงของเธอปลอกเปลือกมันออกเพื่อรับประทาน ทหารผ่านศึกพิการจากสงครามในอิรักของสหรัฐอเมริกาจำนวนหลายร้อยคน ต่างก็รอคอยการกลับไปใช้ชีวิตที่ถึงไม่ใช่แต่ก็ใกล้เคียงกับสิ่งที่เคยทำอยู่เดิม เทคโนโลยี Bionics จักเป็นความหวังให้ผู้พิการทางร่างกายทั่วโลก ได้ใช้ชีวิตเทียบเท่ากับคนธรรมดา
Bionics ไม่เพียงแต่จะสามารถนำพาอวัยวะทดแทนมาให้ผู้ที่บกพร่องทางร่างกายเท่านั้น แต่ศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ยังสามารถ “เพิ่มเติม” ขีดความสามารถทางร่างกายส่วนบุคคลให้สูงขึ้นไปอีกได้ ศาสตราจารย์ โยชิยูกิ ซันไก (Yoshiyuki Sankai) แห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่นได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่สวมใส่ได้ เรียกกันในวงการว่า Exoskeleton ซึ่งคนจะนำมาสวมไว้กับตัว จากนั้นเมื่อออกแรงยกของด้วยแขน เซ็นเซอร์จะออกคำสั่งให้กระดองกลที่ห่อแขนอยู่ออกแรงยกแทนแขนของเรา จะหุ่นยนต์ที่สวมใส่ได้ที่มีชื่อว่า HAL-5 นี้ได้ถูกสาธิตโดยการให้ผู้สวมใส่อุ้มผู้หญิงขึ้นมากลางอากาศได้อย่างที่คนอุ้มไม่รู้สึกหนักเลย กลุ่มวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบอร์คลีย์ ก็ไม่ยอมน้อยหน้าโดยการนำเอาเจ้า Exoskeleton นี้มาสาธิตให้ผู้สวมใส่แบกเป้ที่มีน้ำหนักเกือบ 40 กิโลกรัม เดินโชว์ไปมาเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพียงแค่เจ้าของชุดทำท่าจะเดิน หุ่นยนต์ที่สวมใส่อยู่นั้นก็จะออกตัวเดินทันที โดยรับน้ำหนักที่เป้หลังลงบนโครงโลหะของมัน
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552
แขนเทียม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น