Your doctor has recommended that you undergo a balloon angioplasty with a stent implant. But what does that actually mean?
The heart is located in the center of the chest. It's job is to keep blood continually circulating throughout the body.
The blood vessels that supply the body with oxygen-rich blood are called arteries.The arteries that supplies blood to the heart muscle itself are called coronary arteries.Sometimes, these blood vessels can narrow or become blocked by plaque deposits, restricting normal blood flow.
In simple terms, a balloon angioplasty with stent insertion is a procedure used to increase the amount of blood flowing through the coronary artery.
During a balloon angioplasty, a heart specialist will insert a thin tube into an artery in your arm or leg and gently guide it towards the problem area in your heart.
Once the tube is in place, a small balloon is briefly inflated in order to widen the narrowed artery.
A short length of mesh tubing called a stent is then inserted into the newly widened artery.During and after the procedure, your doctor will take x-rays in order to monitor your progress.
>http://www.PreOp.comPatient ED @ 617-379-1582 INFO
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูน
ปัจจุบันโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease, CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง และในบางรายก็มีอาการเฉียบพลันเกิดหัวใจวายได้ซึ่งวิธีการรักษา โรคนี้ในปัจจุบันมีอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัดนำหลอดเลือดที่ขา หรือหลอดเลือดแดงบางที่มาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ ซึ่งเราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า Coronary Artery Bypass Graft (CABG)การใช้ยารักษาและการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดเลือดในหลอดเลือดหัวใจด้วย
ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1977 นายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ Andreas Gruentzigได้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดเป็นผลสำเร็จตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการรักษาและพัฒนาวิธีการรักษาแบบใหม่นี้ ทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีและยอมรับกันทั่วไป เรียกวิธีการรักษาแบบนี้ว่า Percutaneous Translumianl CoronaryAngioplasty (PTCA)
Percutaneous หมายถึง การรักษาโดยการเจาะรูผ่านทางผิวหนัง บริเวณขาหนีบเพื่อใส่สายสวน หัวใจเข้าไปTranslumianlหมายถึง การรักษานี้กระทำภายในหลอดเลือด (หรือท่อ)Coronary หมายถึงหลอดเลือด Coronary ที่ไปเลี้ยงหัวใจAngioplasty หมายถึง การรักษาด้วยการใส่สายสวนหัวใจที่มี balloon หรือลูกโป่งเล็กๆ อยู่บริเวณปลายของสายสวน ซึ่งบอลลูนนี้จะใส่เข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ตีบอยู่ หลังจากนั้นแพทย์จะดันให้ลูกโป่งก็จะดันให้ลูกโป่งพองออกตรงตำแหน่งที่ตีบ แรงกดของลูกโป่งก็จะดันผนังหลอดเลือดที่ตีบนั้นให้ขยายออกทำให้เลือดสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น
ข้อดีของการทำการขยายหลอดเลือดหัวใจทางหลอดเลือดแดงบริเวณ ข้อมือ (Radial artery)
ข้อดีของวิธีนี้คือ คนไข้สามารถลุกนั่งหรือเดินได้ทันทีหลังจากที่สวนหัวใจเสร็จแต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการขยายหลอดเลือดหัวใจอย่างมาก แตกต่างจากวิธีการสวนหัวใจเข้าทางขาหนีบคนไข้จะต้องนอนราบไม่งอขาข้างที่ทำเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ทำไมต้องรักษาโรคหัวใจขาดเลือดด้วยวิธี PTCA ?
ก่อนทำ PTCA ได้แพร่หลายและนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยก็ได้มีการรักษาโดยวิธี PTCA ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชน ระยะเวลาในการทำ PTCA เฉลี่ยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1/2 -1 1/2 ซม. ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบ และจำนวนของหลอดเลือดที่ตีบด้วย ข้อดีของการทำ PTCA คือการทำให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บหน้าอกได้อย่างรวดเร็ว และระยะเวลาพักฟื้นภายในโรงพยาบาลก็จะสั้นมาก ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน และกลับไปทำกิจกรรมหรืองานต่างๆ ได้ตามปกติภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแล้วพบว่าผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาล 1-2 สัปดาห์ และกลับไปทำงานได้ตามปกติภายในประมาณ 3-4 สัปดาห์
พบปัญหาการทำ PTCA หรือไม่
สำหรับปัญหาในการทำบอลลูนในช่วงแรกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 2 อย่างคือ การเกิดปิดของเส้นเลือดทันที (Abrupt Closure) หลังจากการทำ PTCA ซึ่งเกิดได้ ประมาณ 3-6 % และอาจจำเป็นต้องไปทำผ่าตัด CABG เป็นกรณีฉุกเฉินถ้าแก้ไขอะไรไม่ได้พบประมาณ 1% ของผู้ป่วยที่มาทำ PTCA และเกิดการตีบใหม่ (Rest enosis) ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 30-40 % และมักเกิดจากภายหลังการทำ PTCA 3-6 เดือนแรก
มีวิธีการลดการตีบใหม่ของหลอดเลือดหรือไม่ ?
ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการขยายหลอดเลือดหัวใจมาใช้กันมากขึ้น เพื่อลดการตีบซ้ำ (Restenosis) เช่น การใช้เครื่องมือตัดก้อนไขมัน หรือแคลเซียมในเส้นเลือด (Directional Coronary Arthrectomy, DCA) การใช้หัวกรอเพชร (Rotablator) การใช้ขดเลือดเล็กๆไปถ่างเส้นเลือดไว้ (Stent) หรือการใช้แสงเลเซอร์ร่วมกับการใช้ ballon เราอาจเรียกวิธีการขยายหลอดเลือดด้วยการใช้บอลลูนร่วมกับเครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้ว่า Percutaneous Coronary Intervention (PCT) และพบว่าการใช้ขดลวดเล็กร่วมกับบอลลูนอาจลดการตีบซ้ำใหม่ เหลือเพียง 10-20 % และสามารถแก้ไขการยุบตัวของหลอดเลือดได้ โดยลดอัตราเสี่ยงที่จะต้องส่งไปผ่าตัดเหลือน้อยกว่า 0.5 %
ผลสำเร็จของการทำด้วยวิธี PCI
อย่างไรก็ตาม การทำ PTCA ด้วยการใช้บอลลูนธรรมดาก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ โดยมีการใส่ขดลวดร่วมด้วยมากกว่า 80 % และยังมีขดลวดแบบใหม่ที่สามารถลดการตีบแบบใหม่ ที่สามารถลดการตีบใหม่ลงเหลือน้อยกว่า 5 % อีกด้วย ผลการรักษาด้วยวิธี PCI นี้ ปัจจุบันมีผลสำเร็จตั่งแต่ 85-99% ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยที่เราไม่สามารถใช้การรักษาแบบนี้ทดแทนการผ่าตัดได้ในบางกรณี
ดังนั้น แพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้แนะนำได้ดีที่สุดว่าควรจะให้การรักษาแบบใดในผู้ป่วยรายใด และภายหลังการรักษาแล้ว แพทย์จะอธิบายการปฏิบัติตัว หรือจำกัดกิจกรรมบางอย่าง รวมทั้งเกี่ยวกับการรับประทานยาและอาหารที่จำเป็น ดังนั้นการกลับมาพบแพทย์ตามนัดเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะอาจต้องมีการตรวจบางอย่างอีกเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดเลือดของหัวใจยังมีการไหลเวียนโลหิตได้ดี ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นสามารถมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ขดลวดถ่างเส้นเลือดแบบพิเศษ ดีกว่าขดลวดธรรมดาอย่างไร?
การใช้ขดลวดแบบพิเศษ จะสามารถป้องกันการตีบใหม่ของหลอดเลือดได้มาก ปกติถ้าใช้ขดลวดธรรมดาในการตีบใหม่อยู่ที่ประมาณ 15-20 % แต่ถ้าใช้ขดลวดแบบพิเศษที่มียาเคลือบอยู่นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ ลักษณะคล้ายกับยาที่ใช้กับโรคมะเร็ง เพราะฉะนั้นถ้าใช้ขดลวดแบบมาตรฐานเกิดการตีบใหม่ประมาณ 10-20 % แต่ถ้าใช้ขดลวดแบบพิเศษปรากฏว่าการตีบใหม่ลดลง เหลือน้อยกว่า 5 % และพบว่าคนไข้จะไม่ค่อยมีปัญหาหลังจากทำไปแล้ว และก็ลดการที่ต้องมาทำใหม่อีกในช่วง 3-6 เดือนแรกที่จะมีการตีบใหม่ นั่นก็คือข้อดีของขดลวดแบบพิเศษที่มียาเคลือบอยู่
Source:>http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=111
More Details see :>http://www.yourhealthyguide.com/article/ah-balloon.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น