วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ม.มหิดลเจ๋งวิจัย-พัฒนา'ไอพีจี'สำเร็จ (เดลินิวส์ 3 มี.ค.)
"ม.มหิดล"สุดเจ๋ง!วิจัยและพัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดฝังลงในร่างกาย หรือ ไอพีจีสำเร็จ เป็นอีกทางเลือกของการบรรเทาโรคของผู้ป่วย ช่วยคนหูหนวกให้ได้ยิน บรรเทาอาการสั่นของโรคพาร์คินสัน โรคลมชักอาการเจ็บปวดเรื้อรัง การควบคุมร่างกายของผู้ป่วยอัมพาต ราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัว พร้อมทดสอบกับผู้ป่วยที่สนใจในปี 2553 ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหา วิทยาลัยมหิดล ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นคร ปฐม เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 2 มี.ค. ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหา วิทยาลัยมหิดล ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดฝังลงในร่างกาย (IMPLANTABLE PULSE GENENATOR หรือ IPG) ร่วมแถลงผลงานการวิจัยและพัฒนา เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดฝังลงในร่างกาย เพื่อช่วยกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งของการบรรเทาโรคที่ดีที่สุดสำหรับโรคที่ ยังไม่มียารักษา และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อขับปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ซึ่งได้รับรางวัล “Neural Engineering Excellence Award, the 2nd International IEEEEngineering in Medicine and Biology Society Conference on Neural Engineering, rlington, USAเมื่อปี พ.ศ. 2548” ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า หลักการคือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแบบฝังลงในร่างกาย ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อในจุดที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ เช่น ช่วยคนหูหนวกให้ได้ยิน โดยการกระตุ้น COCHLEAR การบรรเทาอาการสั่นของโรคพาร์คินสัน โดยการกระตุ้นสมองการบรรเทาอาการโรคลมชัก โดยการกระตุ้นเส้นประสาท VAGUS การกระตุ้นไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง การควบคุมร่างกายของผู้ป่วยอัมพาต เช่น การยืน การเดิน การหายใจ การขับปัสสาวะโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของ 6 คณะ คือ คณะวิศว กรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะแพทย์ศาสตร์รพ.รามาธิบดี และศิริราชพยาบาล เครื่อง IPG นี้ได้พัฒนาเทคโนโลยีมาจากเครื่องกระตุ้นของต่างประเทศ แต่ดีกว่าที่ไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนถ่านทุกปี ที่สำคัญราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว และพร้อมที่จะทดสอบกับผู้ป่วยที่สนใจในปี 2553 ภายใต้การดูแลของคณาจารย์จากคณะแพทย์ศาสตร์ทั้งจากรามาธิบดีและศิริราชอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต่อว่า นอกจากเครื่อง IPG แล้ว คณะวิศว กรรมศาสตร์และกายภาพบำบัดยังได้พัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า สำหรับช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ และเกร็ง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วย ไฟฟ้า จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายได้ หากได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อแต่เนิ่น ๆ ที่สำคัญคือมีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาไปได้ทุกสถานที่ราคาถูกกว่า ของต่างประเทศกว่า 300% ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้ที่คณะกายภาพบำบัดมหา วิทยาลัยมหิดล และ รพ.ศิริราช ภายในสิ้นปีนี้จะได้ผลิตและมอบให้กับ รพ.ของรัฐได้นำไปทดลองใช้และคาดว่าอนาคตผู้ป่วยอาจจะสามารถ มีเครื่อง ไว้ใช้ในบ้านตัวเอง.

ที่มา
1.เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผลงาน ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ ->>สำนักข่าวไทย
2.ดู>>ข่าวย้อนหลังที่: http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=252283&ch=gn1
3.กลไกทำงานวิชาการแบบสหวิทยาการ
>Source: http://gotoknow.org/blog/council/197635

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น