Tissue Engineering
วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering) เป็นกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อ (regeneration of functional tissues) เพื่อทดแทน ซ่อมแซม หรือปรับปรุงการทำงานของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่สูญเสียหรือบาดเจ็บ ซึ่งโดยปกติจะไม่มีการงอกใหม่เองในมนุษย์ ได้แก่ ผิวหนังแท้ เส้นประสาท กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น กระบวนการสร้างเนื้อเยื่อต้องใช้การพัฒนาความรู้ต่างๆสามด้านหลัก ได้แก่ วิศวกรรมของวัสดุ ชีววิทยาของเซลล์ และวิศวกรรมชีวเคมี โดยจะเริ่มจากการพัฒนาชีววัสดุ (วัสดุที่เข้ากับร่างกายได้ดี Biomaterials) เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงเลี้ยงเซลล์ (scaffold) ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ชีววัสดุจากธรรมชาติ เช่น คอลลาเจน เจลาติน ไหมหรือวัสดุสังเคราะห์ขึ้น เช่น PLA PCL โครงเลี้ยงเซลล์จะถูกนำไปใช้เลี้ยงเซลล์ที่ถูกคัดแยก และขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมากพอ แล้วการชักนำให้เปลี่ยนแปลง (differentiate) ไปเป็นเนื่อเยื่อที่ต้องการอย่างสมบูรณ์และสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมภายนอกในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor) หรือในร่างกายสิ่งมีชีวิต (in vivo regeneration)
ปัจจุบันงานวิจัยในสาขานี้มีดังนี้
วิศวกรรมเนื้อเยื่อผิวหนัง วิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนากระดูกเทียมจากวัสดุชีวภาพในประเทศ วิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนจากเซลล์ต้นกำเนิด ระบบนำส่ง growth factor ในกระบวนการซ่อมสร้างเส้นประสาทส่วนปลาย การพัฒนาระบบนำส่งเมโทรเทรกเสสทางผิวหนังเพื่อรักษาโรคผิวหนังเรื้อนกวาง การพัฒนาระบบนำส่งสารสกัดจากสมุนไพรไทยที่ไม่ละลายน้ำ การสกัด ดัดแปลง และพัฒนาวัสดุทางการแพทย์จากชีววัสดุธรรมชาติ เช่น คอลลาเจน ไคโตซานแบคทีเรียเซลลูโลส สารสกัดจากสาหร่าย ไซโครเด็กตริน การพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพเพื่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิด
From >http://cubme.eng.chula.ac.th/index.php?q=research/TissueEngineeringAndDrugDeliverySystem
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น